สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิด
ความเป็นมา ความหมาย และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการกําหนดค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดกําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องเสียหาย จากการละเมิดได้รับการเยียวยาหรือทดแทนด้วยค่าเสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิม ก่อนที่จะมีการละเมิด หรือในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ก็ต้องได้รับการชดเชยด้วยการอื่นที่เพียงพอต่อความเสียหาย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนมีความเป็นมา ความหมาย ประเภทของค่าเสียหาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.มาตรา 420) การกระทำจะเป็นละเมิดต้องประกอบด้วยหลัก 3 ประการ
1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดย ผิดกฎหมาย ซึ่งหมายถึงการประทุษกรรม กระทำต่อบุคคลโดยผิดกฎหมายด้วยอาการฝ่าฝืนต่อความหมายที่ห้ามไว้หรือละเว้นไม่กระทำ ในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือตนมีหน้าที่ ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นต้นว่า ฆ่าเขาตาย, ทำร้ายร่างกายเขา,ขับรถโดยประมาทชนคนตายและทรัพย์สินของเขาเสียหาย ฯลฯ
2. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ คือ ทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เขาเสียหาย เช่น เจตนาฆ่าหรือเจตนาทำร้าย ฯลฯ อย่างไรก็ดี การกระทำโดยจงใจในเรื่องละเมิดถือหลักเบาบางกว่าทางอาญาสำหรับอาญานั้นต้องกระทำโดยรู้สึกสำนึกในการที่ทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลด้วยส่วนจงใจในเรื่องละเมิดบางกรณีไม่ผิดในทางอาญาแต่เป็นละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เขา.คำว่าประมาทเลินเล่อในทางแพ่งหมายความถึงการกระทำที่ขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นและหมายความถึงการไม่ป้องกันผลที่เกิดขึ้นโดยประมาทเลินเล่อแม้ตนเองไม่ได้กระทำให้เกิดผลนั้นขึ้นระดับความระมัดระวังของบุคคลต้องถือระดับบุคคลธรรมดา
3. ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย โดยปกติผู้กระทำต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนแต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกันหรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดดังนี้บุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น
ค่าสินไหมทดแทน เกิดจากการละเมิดที่ได้รับความเสียหาย ที่พึงได้รับนั้นถ้า ตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องดำเนินการ ฟ้องร้องต่อศาล และศาลจะกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยจะวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
ปกติค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะการละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สิน รวมทั้งค่าเสียหายพึงบังคับให้ใช้เเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ ที่ได้ก่อขึ้นด้วย